วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัยรุ่นญี่ปุ่นกับการอนุรักษ์ของเก่าเหมือนวัยรุ่นไทย

กิจกรรมที่น่าสนใจ

กีฬา สันทนาการ ผจญภัย

ประวัติของโรงเรียน

ในปี พ.ศ.2519 สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี  นายธงชัย ยงสุนทร สมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี ได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ คือท่านพระครูประสาทรัตนกิจ เพื่อขอสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้น ณ ตำบลประสาทสิทธิ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้มอบที่ดินของวัด จำนวน 43 ไร่เศษ เพื่อใช้ก่อสร้างโรงเรียน
             หลังจากนั้น นายประสงค์ มีแสงแก้ว นายอำเภอดำเนินสะดวก ได้นิมนต์พระครูประสาทรัตนกิจ และเชิญคณะกรรมการดำเนินงานมาประชุมเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน
ให้เสร็จทันปีการศึกษา 2519  โดยมีกำนันขนาน ศิริกุลโยธิน เป็นประธานสภาตำบลประสาทสิทธิ์ในขณะนั้น ที่ประชุมสภาตำบลประสาทสิทธิ์ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณจำนวน 300,000 บาท  เพื่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงชั้นเดียวจำนวน 1 หลัง
              หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และเริ่มเปิดทำการเรียนการสอน ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2519 มีนักเรียนจำนวน 65 คน โดยมี อาจารย์พร เชยจิตร เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก และมีอาจารย์บุญสม แถมเงิน ร่วมทำการสอนอีกหนึ่งท่าน ในช่วงแรกเปิดทำการสอนในระดับชั้น มศ.1 จำนวน 2 ห้องเรียน และได้มีอาจารย์มาช่วยสอนเพิ่มอีก 1 ท่าน คือ อาจารย์บุญเสริม ชัยโสตถี
              เดิมพื้นที่ของโรงเรียนเป็นร่องสวน หน้าน้ำหลาก จึงเกิดน้ำท่วมขัง สร้างปัญหาต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก คณะกรรมการโรงเรียน ร่วมกับพ่อค้า ประชาชน  ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อปรับปรุงพื้นที่บริเวณโรงเรียน จากร่องสวนให้เป็นสนาม และสร้างคันดินโดยรอบเพื่อป้องกันน้ำท่วม นอกจากนั้นได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เป็นอาคารเรือนไม้ไผ่ หลังคามุงจาก คณะกรรมการผู้ก่อตั้งและผู้ร่วมสร้างสรรค์โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจในสมัยนั้น เช่น นายธงชัย ยงสุนทร , กำนันขนาน ศิริกุลโยธิน , อาจารย์สมยศ สุขเกษม , ส.จ.กิตติ บุญเหมือน , นายเจริญ อัครวิกรัย , นายสุ่ม ทองอุทัย , นายพนัส วงศ์อนวัช , นายเพชร เพชรจอม ,นายณรงค์ พงษ์พาชำนาญเวช , นายประพันธ์  สุรสิงห์ไกรสร , นายสุชัย สุดสายธง และนายสันต์ เจียมฉวี  เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

เรื่องน่ารู้

เรื่องน่ารู้